ข่าวทั่วไทย

Just another WordPress site

ข่าวทั่วไทย

Just another WordPress site

ข่าวทัวไป

รมว.เกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช เปิดงาน Field Day เตรียมพร้อมสู่ฤดูการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจ ปี 2568 อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

วันนี้(24 เม.ย.68) ที่อาคารอเนกประสงค์ โรงเรียนพิปูนสังฆรักษ์ประชาอุทิศ อำเภอพิปูน จ.นครศรีธรรมราช ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร และนายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะลงพื้นที่นครศรีธรรมราช เปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field Day) กิจกรรมสำคัญในการช่วยเตรียมความพร้อมของเกษตรกรก่อนเข้าสู่การเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมบูรณาการการทำงานเพื่อสนับสนุนเกษตรกร ให้มีการเรียนรู้ในการวางแผนการผลิต และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ผ่านกลไกศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดทั่วประเทศ ดำเนินการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field Day) ซึ่งเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสนับสนุนเกษตรกรให้มีการเรียนรู้ ในการวางแผนการผลิต และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ผ่านกลไกศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต และการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) อย่างยิ่งในช่วงนี้ที่กำลังเข้าสู่ฤดูกาลผลิตไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ โดยเฉพาะทุเรียน ที่พื้นที่ภาคใต้ตอนบน เป็นการผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศ จำเป็นต้องส่งเสริมและสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรผลิตทุเรียนคุณภาพตามมาตรฐาน GAP ซึ่งงานวัน Field Day จะช่วยกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมการเกษตรที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ มุ่งเน้นการป้องกันการผลิตทุเรียน ด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตในภาคเกษตรไปสู่สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง เพื่อสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร


ในปี 2568 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1-6 ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ร่วมกันจัดงาน Field day อย่างน้อย เขตละ 1 จุด โดยการจัดงานในครั้งนี้เป็น ครั้งที่ 2 ของภาคใต้ เป้าหมายเกษตรกรเข้าเรียนรู้ จำนวน 1,200 ราย มีกิจกรรมหลัก ประกอบด้วย สถานีเรียนรู้ที่ 1 ทุเรียน “นวัตกรรมเพื่ออนาคตของการผลิตทุเรียน ” “Next Tech : Future of Durian Innovation” และสถานีเรียนรู้ที่ 2 ปาล์มน้ำมัน “เส้นทางสีเขียวและความยั่งยืน : นวัตกรรม ปาล์มน้ำมันเพื่ออนาคต” “Road to Sustainability & Green : Palm Oil Innovations และกิจกรรมรอง ประกอบด้วย งานวิจัยและเทคโนโลยีจากหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , งานวิจัยและเทคโนโลยี นวัตกรรมจากสถาบันการศึกษาและเอกชน มีการสนับสนุนปัจจัย การผลิตให้แก่เกษตรกร อาทิเช่น พันธุ์พืช โฉนดที่ดินเพื่อการเกษตร สมุดบัญชี น้ำหมัก สารชีวภัณฑ์ เสบียงสัตว์ โค กระบือ พันธุ์ปลาน้ำจืด และต้นพันธุ์หม่อน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการผลดำเนินงานศูนย์บริการการเกษตรพิรุณราช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มีการจัดตั้งศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ศูนย์บริการหลัก ทั้งระดับอำเภอ จังหวัด และระดับกรม รวม 1,937 ศูนย์ โดยแบ่งการให้บริการเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 งานรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ ส่วนที่ 2 รวมลิงค์งานบริการ (e-service) ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับเป็นช่องทางการเข้าถึงของผู้รับบริการ จำนวน 11 หน่วยงาน 22 แอปพลิเคชัน/ระบบงาน บริการ ปัจจุบันเกษตรกรแจ้งขอรับบริการสะสม จำนวน 18,869 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ สะสม จำนวน 18,617 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 98.66 อยู่ระหว่างดำเนินการสะสม จำนวน 47 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 0.25 ในส่วนแนวทางการขับเคลื่อนในระยะถัดไป จะพัฒนาระบบให้บริการศูนย์บริการเกษตรพิรุณราชฯ และการประชาสัมพันธ์การใช้บริการตามลำดับต่อไป


ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าการจัดกิจกรรมในวันนี้เพราะตนและผู้บริหารกระทรวงทั้งภาคการเมืองและข้าราชการระดับสูง คิดว่าการทำหน้าที่แก้ไขปัญหาความเดือดร้อยของประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรเป็นภาระกิจหลักของพวกเรา ประชาชนเดือดร้อนก็เหมือนเราเดือดร้อน ซึ่งในภาคใต้ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำโดยเฉพาะยางพาราที่ได้รับผลกระทบมาจากโดนัลด์ ทรัมป์ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาขึ้นภาษีนำเข้า ทำให้ราคายางพาราตกฮวบทันทีกว่า 10 บาท ตนได้เรียกประชุมหัวหน้าส่วนราชการและภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้อง หามาตจรการช่วยเหลือชาวสวนยางจนในปัจจุบันราคากระเตื้องขึ้นจนเกือบเป็นปกติอีกสัก กก.ละ 4-5 บาทก็จะเป็นปกติแล้ว ส่วนเรื่องราคาปาล์มเราก็กำลังเร่งแก้ปัญหาอยู่เช่นกันโยคณะกรรมการ ฯจะประชุมร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาต่อไป แต่ในภาคใต้ปัญหาหลักคือเรื่องราคายางพารา
ต่อข้อถามเรื่องปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำที่กำลังจะแพร่ระบาดเข้าสู่ทะเลสาบสงขลา ความจริงภาคใต้ที่หนักที่สุดคือลุ่มน้ำปากพนัง เขต อ.ปากพนัง ต้องขอขอบพระคุณนายกรัฐมนตรีที่เห็นชอบอนุมัติงบประมาณตามวาระแห่งชาติลงมาแก้ไขปัญหากว่า 98 ล้านซึ่งทางกรมประมงระดมสรรพกำลังลงไล่ล่าจนสามารถหยุดการแพร่ระบาดจนพ้นวิกฤติแล้ว สามารถไล่ล่ากำจัดได้กว่า 1 ตันและยังทุ่มเทไล่ล่ากำจัดอยู่ในพื้นที่ อ.ปากพนัง พรุ่งนี้ทางอธิบดีกรมประมงจะลงไปตรวจสอบและควบคุมการปฏิบัติการด้วยตัวเอง และทางนายกรัฐฒนตรีท่านให้ความสำคัญในเรื่องนี้ส่างกำชับให้เร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง


ไพฑูรย์ อินทศิลา /นครศรีธรรมราช
24 เม.ย.2568

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *